คงจะมีหลายคนที่ไปเที่ยวเชียงใหม่หลายสิบครั้งแต่ไม่เคยไปเที่ยวที่เวียงกุมกาม เพราะเวียงกุมกามมิใช่สถานที่ๆสวยงามที่มีการโฆษณาชวนให้หลงไหล หากแต่เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง ข้าพเจ้าเองก็เพิ่งเคยไปเวียงกุมกามเมื่อไม่นานมานี้เอง
เวียงกุมกามเป็นเมืองเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่รัชสมัยพญามังราย สร้างขึ้นในบริเวณชุมชนโบราณสมัยหริภุญไชย ชื่อว่าชุมชนวัดกานโถม ตามประวัติก่อนหน้าการสร้างเวียงกุมกาม ชุมชนแห่งนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นหริภุญไชย มีการคาดเดาจากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งถ้านับถึงปัจจุบันก็มีอายุเกิน ๗๐๐ ปีแล้ว
เชื่อกันว่าพญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ทรงสร้างเวียงกุมกามในปี พศ.๑๘๒๙ หลังจากอพยพมาจากหริภุญไชย(ลำพูน) เมื่อครั้งที่พระองค์ยกทัพจากเมืองฝางมายึดครองเมืองหริภุญไชย พระองค์ประทับที่เมืองหริภุญไชยเพียง ๒ ปี ก็ทรงแต่งตั้งให้อ้ายฟ้าเป็นขุนฟ้าครองเมืองหริภุญไชยต่อ ไม่เลือกหริภุญไชยเป็นเมืองหลวงด้วยเห็นว่าเมืองมีขนาดเล็ก ขยายต่อไม่ได้เพราะเต็มไปด้วยวัดเนื่องจากหริภุญไชยเป็นศูนย์กลางทางศาสนา
พระองค์ย้ายมาสร้างเมืองเวียงกุมกามเป็นที่ประทับแห่งใหม่ เวียงกุมกามจึงถือกำเนิดในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสมัยหริภุญไชยและสมัยล้านนา โดยแนวคิดการสร้างเมืองรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของหริภุญไชย นั่นคือเลือกสร้างบนบริเวณที่ราบที่น้ำท่วมถึงและติดแม่น้ำปิงเพื่อสดวกต่อการคมนาคมและค้าขายตลอดจนถึงการทำการเกษตร อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งของเวียงกุมกามยังเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางของการควบคุมหัวเมืองต่างๆ
ในกาลต่อมา ปรากฏว่าเวียงกุมกามมักประสพปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ พญามังรายจึงโปรดให้ตั้งเมืองใหม่ บริเวณเชิงดอยสุเทพกับแม่น้ำปิงในลักษณะพื้นที่ลาดเทแทนลักษณะที่ราบลุ่ม สร้างใน พศ.๑๘๓๙ มีชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เวียงกุมกามจึงถูกลดฐานะมาเป็นเพียงเมืองหน้าด่าน ทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาตีเชียงใหม่ หลังจากนั้นเวียงกุมกามก็ลดความสำคัญลงเรื่อยๆ
ในช่วง พศ.๒๑๐๑ - ๒๓๑๗ เชียงใหม่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า บ้านเมืองเกิดจราจลบ่อยครั้ง พม่าเข้ามามีอิทธิพลและปกครองเวียงกุมกามด้วย ช่วงหนึ่งได้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง เป็นภัยธรรมชาติที่ทำลายเวียงกุมกามให้สลายตัวลง เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เวียงกุมกามได้รับความเสียหายอย่างหนัก ผู้คนละทิ้งที่อยู่และศาสนสถานบางส่วนไป ทั้งเวียงถูกฝังจมอยู่ในตะกอนดินมานับร้อยๆปี ไม่มีการฟื้นฟูบูรณะเพราะช่วงนั้นบ้านเมืองมีความแตกแยกกันมาก ชื่อของเวียงกุมกามค่อยๆเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์เป็นเพียงเมืองในตำนานว่าเป็น"เมืองใต้ดิน"
จวบจนในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เริ่มมีผู้คนย้ายเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้ จนกลับมามีสภาพเป็นชุมชนอีกครั้ง เริ่มมีการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์วัดกานโถมเป็นรูปช้างค้ำ และเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านช้างค้ำ" และเรียกชื่อวัดช้างค้ำ แทนชื่อวัดกานโถม
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกาม ตั้งแต่ พศ.๒๕๒๗ - ๒๕๓๒ รวม ๑๐ วัดด้วยกัน สภาพของเวียงกุมกามจึงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งจวบจนปัจจุบัน
พระองค์ย้ายมาสร้างเมืองเวียงกุมกามเป็นที่ประทับแห่งใหม่ เวียงกุมกามจึงถือกำเนิดในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสมัยหริภุญไชยและสมัยล้านนา โดยแนวคิดการสร้างเมืองรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของหริภุญไชย นั่นคือเลือกสร้างบนบริเวณที่ราบที่น้ำท่วมถึงและติดแม่น้ำปิงเพื่อสดวกต่อการคมนาคมและค้าขายตลอดจนถึงการทำการเกษตร อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งของเวียงกุมกามยังเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางของการควบคุมหัวเมืองต่างๆ
ในกาลต่อมา ปรากฏว่าเวียงกุมกามมักประสพปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ พญามังรายจึงโปรดให้ตั้งเมืองใหม่ บริเวณเชิงดอยสุเทพกับแม่น้ำปิงในลักษณะพื้นที่ลาดเทแทนลักษณะที่ราบลุ่ม สร้างใน พศ.๑๘๓๙ มีชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เวียงกุมกามจึงถูกลดฐานะมาเป็นเพียงเมืองหน้าด่าน ทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาตีเชียงใหม่ หลังจากนั้นเวียงกุมกามก็ลดความสำคัญลงเรื่อยๆ
จวบจนในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เริ่มมีผู้คนย้ายเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้ จนกลับมามีสภาพเป็นชุมชนอีกครั้ง เริ่มมีการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์วัดกานโถมเป็นรูปช้างค้ำ และเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านช้างค้ำ" และเรียกชื่อวัดช้างค้ำ แทนชื่อวัดกานโถม
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกาม ตั้งแต่ พศ.๒๕๒๗ - ๒๕๓๒ รวม ๑๐ วัดด้วยกัน สภาพของเวียงกุมกามจึงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งจวบจนปัจจุบัน
วัดช้างค้ำ |
พระศรีมหาโพธิ์ที่นำพันธ์มาจากลังกาพญามังรายทรงให้ปลูกที่วัดกานโถม |
วัดเจดีย์เหลี่ยม |
วัดธาตุขาว |
วัดปู่เปี้ย |
นอกจากนี้ยังมีวัดอีกหลายๆวัด ที่อยู่ในสภาพที่เหลือแต่แนวฐานราก วัดแต่ละแห่งอยู่ไม่ห่างกันนัก แสดงว่าในอดีตชุมชนแห่งนี้ต้องเป็นชุมชนที่หนาแน่นพอควร เฉพาะในส่วนที่เป็นเขตชั้นในที่มีวัดจำนวนมากนี้ มีเนื้อที่เกินกว่า ๘๐๐ ไร่ การท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ จึงได้จัดรถม้าคอยให้บริการพาชมโบราณสถานทุกแห่งในเมืองนี้ สดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวในการเข้าชม นับเป็นที่แห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วัดช้างค้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น