ผาช่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏชื่อเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเป็นหน้าผาสูงที่ดูเสมือนมีการบรรจงสลักเป็นลวดลายไว้อย่างสวยงาม แต่แท้จริงเกิดจากการกัดเซาะของธรรมชาติจนทำให้แผ่นดินที่เชื่อกันว่าเมื่อหลายร้อยปีหรืออาจจะพันปีที่ผ่านมา บริเวณนี้เคยเป็นทางเดินของแม่น้ำมาก่อน ต่อมาแม่น้ำได้เปลี่ยนทิศทางไปทางอื่น บริเวณนี้จึงถูกยกตัวเป็นเนินเขาสูง ตะกอนของแม่น้ำก่อตัวทับถมกันเป็นชั้น ๆ สูงขึ้น สูงขึ้น และถูกธรรมชาติกัดเซาะจนกลายเป็นหน้าผาสูงเทียมยอดไม้ ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา
ตัวผาช่อนี้อยู่ลึกเข้าไปในอุทยานแห่งชาติแม่วาง ประมาณ ๓ กม.ในทางรถยนตร์ ซึ่งเป็นทั้งทางคอนกรีตและทางลูกรัง จนถึงลานจอดรถ ก็ต้องเดินเท้าต่อตามเส้นทางป่า ไปอีกประมาณเกือบ ๑ กม. จะเป็นบันไดทางเดินที่ทางอุทยานจัดทำไว้เพื่อให้เกิดความสดวกกับนักท่องเที่ยว จึงมีความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางอยู่พอสมควร
แต่เมื่อขึ้นไปถึงผาช่อ พบกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ความเหน็ดเหนื่อยก็หายไปจนหมดสิ้น ธรณีสัณฐานลักษณะแปลกตาที่เป็นหน้าผา สูงประมาณ ๓๐ เมตร เกิดจากตะกอนที่สะสมบริเวณขอบแก่งและเชิงเขาของแนวเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ตั้งแต่ปลายยุคเทอร์เชียรี่ (ประมาณ ๕ ล้านปีก่อน) สันนิษฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเส้นทางเดินของแม่น้ำมาก่อน สังเกตุได้จากกรวดหินที่มีลักษณะกลมมนคล้ายหินแม่น้ำที่กระจัดกระจายอยู่ตามเนื้อดิน ต่อมาเกิดการแปรสัณฐานของธรณี ทำให้บริเวณนี้ถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นพื้นที่เนินเขาและที่ลาดชันเนื่องจากตะกอนยุคเทอร์เชียรี่มีอายุไม่มากนักจึงยังไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหินแข็ง ชั้นของตะกอน หินกรวดและหินทรายที่วางตัวเป็นชั้นสลับกัน มีคุณสมบัติคงทนต่อการสึกกร่อนต่างกัน เมื่อถูกน้ำกัดเซาะชะล้างหน้าดิน ทำให้เกิดเป็นหน้าผาและแท่งเสาดิน ที่มีลวดลายสวยงาม
แต่เมื่อขึ้นไปถึงผาช่อ พบกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ความเหน็ดเหนื่อยก็หายไปจนหมดสิ้น ธรณีสัณฐานลักษณะแปลกตาที่เป็นหน้าผา สูงประมาณ ๓๐ เมตร เกิดจากตะกอนที่สะสมบริเวณขอบแก่งและเชิงเขาของแนวเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ตั้งแต่ปลายยุคเทอร์เชียรี่ (ประมาณ ๕ ล้านปีก่อน) สันนิษฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเส้นทางเดินของแม่น้ำมาก่อน สังเกตุได้จากกรวดหินที่มีลักษณะกลมมนคล้ายหินแม่น้ำที่กระจัดกระจายอยู่ตามเนื้อดิน ต่อมาเกิดการแปรสัณฐานของธรณี ทำให้บริเวณนี้ถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นพื้นที่เนินเขาและที่ลาดชันเนื่องจากตะกอนยุคเทอร์เชียรี่มีอายุไม่มากนักจึงยังไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหินแข็ง ชั้นของตะกอน หินกรวดและหินทรายที่วางตัวเป็นชั้นสลับกัน มีคุณสมบัติคงทนต่อการสึกกร่อนต่างกัน เมื่อถูกน้ำกัดเซาะชะล้างหน้าดิน ทำให้เกิดเป็นหน้าผาและแท่งเสาดิน ที่มีลวดลายสวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น